เตือนเกษตรกร ระวัง โรคราน้ำค้าง ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
เตือนเกษตรกร ระวัง โรคราน้ำค้าง ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
ป้องกันและรักษาโรคราน้ำค้างในผักตระกูลกะหล่ำด้วยชีวภัณฑ์
ในช่วงฤดูฝนและอากาศเย็นลง เกษตรกรที่ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง และคะน้า ควรระวังปัญหา “โรคราน้ำค้าง” (เชื้อรา Peronospora Parasitica) ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เชื้อราจะกระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมากทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
การเข้าใจและรู้จักวิธีป้องกันและการรักษาโรคราน้ำค้าง จะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากโรคนี้ได้ และยังสามารถรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพสูงและยั่งยืนได้ตลอดทั้งฤดูกาล
โรคราน้ำค้าง คืออะไร ?
โรคราน้ำค้าง (Downy Mildew) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora Parasitica ซึ่งมักแพร่ระบาดในสภาพอากาศเย็นและมีความชื้นสูง โรคนี้มักพบในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เชื้อราจะเริ่มต้นจากการทำลายใบพืชและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของพืชได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่รีบรักษาเชื้อรา จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตอย่างรุนแรง
อาการของโรคราน้ำค้างในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
- ระยะกล้า : ในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเริ่มแสดงจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นอ่อนแอ ลำต้นอาจเน่าแคระแกร็น ส่งผลให้พืชไม่สามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่
- ระยะต้นโต : อาการเริ่มแรกจะปรากฏที่บริเวณด้านบนใบ ซึ่งจะเห็นจุดแผลสีเหลืองหรือปื้นสีเหลืองที่ค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น หากสภาพอากาศมีความชื้นสูงโดยเฉพาะในช่วงเช้า เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบมักจะพบเส้นใยของเชื้อราสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้าย
- กะหล่ำดอกและบรอกโคลี : เชื้อราจะเข้าทำลายก้านดอก ทำให้ก้านดอกยืด ดอกบิดเบี้ยวหรือเสียรูป ส่งผลต่อความสวยงามและคุณภาพของผลผลิต
แนวทางป้องกันและวิธีรักษาโรคราน้ำค้าง
เพื่อป้องกันและรักษาโรคราน้ำค้างในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เกษตรกรสามารถใช้วิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ
การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อโรคจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มต้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมล็ดพันธุ์ปลอดเชื้อและมีคุณภาพดี
2. ปลูกพืชให้มีระยะห่างเหมาะสม
ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีและลดความชื้นในพื้นที่ปลูก การปลูกอย่างแออัดจะเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายของโรค
3. การใช้สารชีวภัณฑ์
ใช้ “เจน-แบค” เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส ที่มีประโยชน์ในการป้องกันก่อนเกิดโรค โดยใช้ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และผสมกับสารจับใบ “เบน-ดิกซ์” ในอัตรา 3-5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน
4. ใช้สารเคมี
หากพบการระบาด สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีตามที่หน่วยราชการแนะนำ เช่น เมทาแลกซิล 25% WP หรือแมนโคเซบ 80% WP โดยพ่นให้ทั่วทั้งใบ รวมทั้งใต้ใบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการควบคุมโรค
การดูแลพืชหลังการรักษาโรคราน้ำค้าง
- ตรวจสอบต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ หากพบจุดเหลืองหรือเส้นใยเชื้อรา ให้รีบจัดการทันที
- ลดความชื้นในแปลงปลูก โดยควบคุมการให้น้ำอย่างเหมาะสม
- ปลูกพืชให้มีระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
- ใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น "เจน-แบค" เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส เพื่อช่วยกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียที่ทำลายพืช
- กำจัดใบและต้นที่ติดเชื้อ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค
การดูแลหลังการรักษา นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาของโรคราน้ำค้างแล้ว ยังช่วยให้พืชสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีขึ้นตลอดฤดูกาล
เจน-แบค บาซิลลัส ซับทิลิส ชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืช รักษาโรคราน้ำค้าง
TAB Innovation ผู้นำผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ ปลอดภัย ไร้สารเคมี ขอแนะนำ เจน-แบค เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ บีเอ็ม-01 ตัวช่วยสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด ให้สามารถควบคุมเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคราน้ำค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ผลผลิตของคุณคงคุณภาพและสร้างความยั่งยืนให้กับการเกษตรในระยะยาว
03 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้ชม 204 ครั้ง