โรคเน่าคอดิน (damping off)
โรคเน่าคอดิน (damping off)
สอบถามข้อมูล/สั่งซื้อสินค้า
LINE id: @tabinnovation
โทร. 02-954-3120-6
โรคเน่าคอดิน (damping off)
มักพบในต้นกล้าของพืชผักและพืชไร่ เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. นอกจากนี้ยังมีโรครากเน่าโคนเน่า (Phytophthora root and foot rot) ที่พบในพืชยืนต้นหรือไม้ผล เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmovora
ลักษณะอาการ : อาการเริ่มจากเชื้อราเข้าทำลายระบบราก อาการที่เกิดในต้นกล้า เชื้อราเข้าทำลายทำให้เห็นแผลฉ่ำน้ำบริเวณรากและโคนต้นทำให้รากเน่าและโคนต้นหักฟุบลงและตาย ส่วนในไม้ยืนต้น เชื้อราเข้าทำลายทำให้รากเน่าเป็นสีน้ำตาล ต่อมาส่งผลให้ใบเหนือบริเวณที่รากเน่ามีอาการซีดเหลือง จากนั้นจะปรากฎอาการเน่ามีแผลฉ่ำน้ำ และมีน้ำไหลออกมาจากแผลที่โคนต้น เมื่อแผลเน่าลุกลามมากจะทำให้ใบร่วงหมดต้นและยืนต้นตายในที่สุด
การระบาด : : เชื้อราติดมากับเมล็ดพันธุ์หรืออยู่ในดินและแพร่กระจายได้โดยน้ำ
การป้องกันกำจัด :
1. หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เมื่อพบต้นกล้าที่เป็นโรค ให้ถอนและนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ดีปราศจากเชื้อโรคพืช และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป เว้นระยะต้นให้แสงแดดสามารถส่องผ่านได้ มีการระบายน้ำที่ดี ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วย ไตร-แท๊บ ใช้ผสมวัสดุเพาะกล้า อัตรา 1 กิโลกรัมต่อวัสดุเพาะกล้า 100- 500 กิโลกรัม หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ ไตร-แท๊บ อัตรา 50-100 กรัมต่อหลุม หว่านโคนต้น ใช้ ไตร-แท๊บ 1 กิโลกรัมผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 100-200 กิโลกรัม วัสดุปลูกและแปลงปลูกควรสะอาด
3. ป้องกันโรคด้วยการใช้ ไตร-แท๊บ ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตร-แท๊บ 50 กรัม ร่วมกับ เจน-แบค 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้จัสเตอร์ ฉีดพ่นลงดินหรือปล่อยไปกับระบบน้ำอัตรา 20ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และช่วยให้ดินไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยปรับดินให้อยู่ในช่วง pH 6-6.5 เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช
20 สิงหาคม 2567
ผู้ชม 454 ครั้ง