ตอบปัญหาเกษตรกร โรคใบจุดในขึ้นฉ่าย

ตอบปัญหาเกษตรกร โรคใบจุดในขึ้นฉ่าย

จากภาพที่เกษตรกรได้ส่งเข้ามาปรึกษา

พืช : ขึ้นฉ่าย, Celery (Apium graveolens)

ลักษณะอาการ : พบว่าที่ใบเป็นโรคใบจุด ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Alternaria tenuissimain มีลักษณะอาการเป็นจุดสีน้ำตาลบนใบ มักเกิดในช่วงที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง อาการเริ่มแรกจะมองเห็นเป็นจุดมีสีน้ำตาลอ่อนเล็กๆ จำนวนมาก รูปร่างไม่สม่ำเสมอ รอยโรคจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นในระยะหลังของโรค จากนั้นรอยโรคหลายจุดจะขยายรวมตัวกันจนกลายเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดใหญ่ จนในที่สุดจะทำให้ใบตายไปทั้งหมด

วิธีแก้ปัญหา : แนะนำให้ใช้ชีวภัณฑ์ “เจน-แบค เป็นชีวภัณฑ์ที่ใช้ควบคุมโรคพืชทางใบ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับสารจับใบเบนดิกซ์”  อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันโรคควรฉีดพ่น ทุก 5-7 วัน และเมื่อเริ่มพบการระบาด ให้ฉีดพ่นทุก 3-5 วัน บริเวณใบและต้น ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการสะสมเชื้อและลดอัตราการเกิดโรค ถ้าพบโรคระบาดรุนแรงมากควรปลูกพืชอื่นสลับหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี นอกจากนี้หลังการวัด pH พบว่าแปลงดังกล่าวมีสภาพเป็นกรด (ดินเปรี้ยว) จึงแนะนำให้มีการปรับดินด้วย สารปรับปรุงสภาพดินจัสเตอร์ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เรียบเรียงโดย หนึ่งฤทัย ไหมพรหม

เอกสารอ้างอิง

Zhang J, Wu K, Zhang X, Li J, Salah Zene A, Shen T, Tian Y. First Report of Alternaria tenuissimain Causing Leaf Spot of Celery (Apium graveolens) in China. Plant Dis. 2020 Nov 24. doi: 10.1094/PDIS-09-20-2083-PDN. Epub ahead of print. PMID: 33231525.

27 พฤษภาคม 2567

ผู้ชม 824 ครั้ง

Engine by shopup.com